โรงงานพลังงานความร้อนร่วม

โรงงานพลังงานความร้อนร่วม

โครงการโรงไฟฟ้าความร้อนร่วม บางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

โครงการผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าอิสระ(IPP) ที่ได้รับการคัดเลือกจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยเป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมขนาด 350 เมกกะวัตต์ ตั้งอยู่ใน อำเภอ บางบ่อ จังหวัด สมุทรปราการ ดำเนินการโดย บริษัท อีสเทิร์นเพาเวอร์แอนด์อิเล็คทริค จำกัด โดย บริษัท จี เอ็ม เอส เพาเวอร์จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในบริษัท อีสเทิร์น เพาเวอร์ แอนด์ อิเล็คทริค จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 32 และผู้ร่วมทุนอื่นประกอบด้วย

บริษัท มารูเบนิ คอร์ปอเรชั่น ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 28 (ปัจจุบันได้โอนหุ้นให้กับบริษัทในเครือ ชื่อบริษัท แอ็คเซีย เพาเวอร์ โฮลดิ้ง บี.วี.) Total Gas and Power Thailand S.A. (TOTAL) ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานจากประเทศฝรั่งเศสที่ใหญ่ติดอันดับหนึ่งในห้าของโลกถือหุ้นในอัตราร้อยละ 28 China Development Industrial Bank Inc. ธนาคารเพื่ออุตสาหกรรมชั้นนำของไต้หวันถือหุ้นในอัตราร้อยละ 12 โครงการไฟฟ้าบางบ่อได้ผ่านการทดสอบการเดินเครื่องครั้งสุดท้ายและเดินเครื่องเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในปี 2546

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ

โครงการพลังงานน้ำเทินหินบูน ประเทศ สปป. ลาว

โครงการไฟฟ้าเทิน-หินบูน เป็นโครงการพลังงานไฟฟ้าโครงการแรกของกลุ่มบริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการโดยบริษัท จี เอ็ม เอส ลาว จำกัด (บมจ. จี เอ็ม เอส เพาเวอร์ ถือหุ้น 100%) ผ่านบริษัท เทิน-หินบูน พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท จี เอ็ม เอส ลาว จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 20 การไฟฟ้าลาวถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 60 และกลุ่ม Nordic Hydropower AB ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 20

เทิน-หินบูนเป็นโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำขนาด210เมกกะวัตต์นับเป็นโครงการพลังงานไฟฟ้าโครงการแรกในลาวที่ดำเนินงานโดยบริษัทเอกชนต่างประเทศเพื่อผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ประเทศไทยและได้รับสัมปทานจากรัฐบาลลาวให้ดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าในระยะเวลา 30 ปี ซึ่งสามารถต่ออายุสัญญาได้ และยังเป็นโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าโครงการแรกของลาวที่ลงนามในข้อตกลงการซื้อไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสร้างเสร็จสมบูรณ์และเริ่มดำเนินการในเชิงพาณิชย์มาตั้งแต่ปี 2541

ต่อมาได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างบริษัท เทิน-หินบูน กับรัฐบาลลาวให้บริษัท เทิน หินบูน ได้สิทธิที่จะขยายโครงการเพิ่มขึ้นเป็น500เมกกะวัตต์ทำให้ปริมาณไฟฟ้าที่ขายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จะเพิ่มขึ้นเป็น 440 เมกกะวัตต์และอีก 60 เมกกะวัตต์ จะถูกขายให้การไฟฟ้าลาว โดยได้มีการลงนามแก้ไขสัญญาการซื้อไฟฟ้าของโครงการเทิน-หินบูนกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเพื่อรองรับปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว

กิจการพลังงานทางเลือก

กิจการพลังงานทางเลือก
โครงการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ลอยน้ำ (Floating Solar) ขนาด 19.90 MWp
โซล่าลอยน้ำ ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 117.325 kWp พลังงานไฟฟ้าได้โดยเฉลี่ยประมาณ 410 kWh ต่อวัน
Solar Rooftop ผลิตกระแสไฟฟ้าสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้โดยเฉลี่ยประมาณ 43 kWh ต่อวัน

โครงการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารสำนักงานอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ (Solar Rooftop)

บริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ กรีนเอ็นเนอร์ยี จำกัด ได้ดำเนินการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารสำนักงานนิคมฯ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ภายในอาคารสำนักงานมีกำลังไฟติดตั้ง ขนาด 12.35 kWp ดำเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2562 ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานในการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า และได้รับอนุญาตจากการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผลการดำเนินงานผลิตกระแสไฟฟ้าสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้โดยเฉลี่ยประมาณ 43 kWh ต่อวัน โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกนำไปใช้ในอาคารสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมเป็นหลัก ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าได้ในระดับที่มีนัยสำคัญ

โครงการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ลอยน้ำ (Floating Solar) ขนาด 19.90 MWp

ด้วยตระหนักถึงเรื่องการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสู่ความเป็นกลางของคาร์บอน เพื่อช่วยลดอุณหภูมิของโลกที่ถือได้ว่าเป็นปัญหาของโลกปัจจุบัน บริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน) ได้เตรียมดำเนินโครงการจัดทำโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ประเภททุ่นลอยน้ำ ขนาด 19.90 MWp และจ่ายกระแสไฟฟ้าใช้ภายในนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ โดยจะทำการติดตั้ง ณ พื้นที่อ่างเก็บน้ำดิบของนิคมฯ ซึ่งมีศักยภาพที่สามารถรองรับการติดตั้งโซล่าร์ประเภททุ่นลอยน้ำได้สูงสุดถึง 48.00 MWp

สำหรับระยะที่ 1 ขนาด 19.90 MWp คาดว่าจะเริ่มดำเนินการในปลายปี พ.ศ. 2566 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2568

โครงการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ลอยน้ำ (Floating Solar) ขนาด 117.325 kWp

บริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน) ได้ทำการว่าจ้าง บริษัท Ciel & Terre จำกัด (ฝรั่งเศส) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาออกแบบติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าแบบโซล่าลอยน้ำ (Floating Solar) บนอ่างเก็บน้ำดิบ (ขนาดความจุ 7 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ประมาณ 450 ไร่) เพื่อเป็นโครงการต้นแบบทดลองและศึกษาการผลิตไฟฟ้าเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคภายในนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ โดยออกแบบติดตั้งโซล่าลอยน้ำ ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 117.325 kWp บนพื้นที่ผิวอ่างเก็บน้ำประมาณ 1 ไร่
ผลการดำเนินงานผลิตกระแสไฟฟ้าสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้โดยเฉลี่ยประมาณ 410 kWh ต่อวัน โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกนำไปใช้ภายในกระบวนการผลิตส่งจ่ายน้ำประปาของนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 80,000 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็นสามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 96.15 ตันคาร์บอนต่อปี เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ ประมาณ 12,018 ต้น หรือพื้นที่ปลูกประมาณ 30 ไร่

นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้

นิคมอุตสาหกรรม เกตเวย์ซิตี้
Click Here
Click Here
Click Here
Click Here
Previous slide
Next slide
เป็นโครงการร่วมดำเนินงานระหว่างบริษัทกับการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (กนอ.)โดยบริษัทเป็นผู้รวบรวมจัดหาที่ดิน และก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคส่วนกลางรวมทั้งเป็นผู้บริหารจัดการ และเจ้าของกรรมสิทธิ์ในระบบสาธารณูปโภค ส่วน กนอ.เป็นผู้ควบคุมกำกับด้านนโยบายตามระเบียบราชการ ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 10 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่พัฒนาประมาณ 5,183 ไร่

ระบบสาธารณูปโภค

กิจกรรมกรรมจัดระเบียบสายสื่อสารโทรคมนาคม ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายภูมิภาค

กิจกรรมกรรมจัดระเบียบสายสื่อสารโทรคมนาคมและจัดทำกิจกรรม Big Patrolling and Cleaning for Strong Grid ณ นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ อำเภอ แปลงยาว จังหวัด ฉะเชิงเทรา โดย บริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายภูมิภาค จังหวัด ฉะเชิงเทรา